สัญลักษณ์และการใช้ ของ โบตั๋น (พรรณไม้)

ถาดอาหารไม้ลงยาฝังทอง จากราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ.960-1279), นกหางยาวสองตัว หมายถึงการมีอายุยืนยาว ดอกโบตั๋นอยู่บนสุดของภาพ หมายถึง ความมั่งคั่งโบตั๋น โดยศิลปินจีน Wang Qian, ราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1271-1368).ภาพโบตั๋น โดยศิลปินจีน Yun Shouping, คริสต์ศตวรรษที่ 17

ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ที่นิยมใช้ในงานศิลปะมายาวนาน และหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำชาติของจีน โดยถือเป็นดอกไม้แห่งจักรพรรดิและความร่ำรวย กับนิยมใช้ในเชิงสัญลักษณ์ในศิลปะจีนอีกด้วย [4] เมื่อ ค.ศ.1903 ราชวงศ์ชิงประกาศให้โบตั๋นเป็นดอกไม้ประจำชาติ ปัจจุบันนี้ไต้หวันใช้ดอกเหมยเป็นดอกไม้ประจำชาติ ขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีนไม่ได้ใช้เป็นดอกไม้ประจำชาติตามกฎหมายอีกแล้ว และต่อมาเมื่อปี 1994 มีการเสนอให้ใช้ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ประจำชาติอีก โดยการทำประชามติ แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับ กระทั่ง ค.ศ. 2003 มีการเสนอดังกล่าวอีกครึ่งหนึ่ง และยังไม่มีการเลือกใช้ดอกโบตั๋นอีกเช่นกัน

เมืองลั่วหยาง เมืองหลวงเก่าที่มีชื่อเสียงของจีน มีชื่อเสียงในฐานะศูนย์กลางการปลูกดอกโบตั๋นที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในประวัติศาสตร์จีน มักจะยกย่องโบตั๋นจากลั่วหยางว่างดงามที่สุดในแผ่นดิน ปัจจุบันยังมีการจัดนิทรรศการและการแสดงดอกโบตั๋นในเมืองนี้ปีละนับสิบๆ ครั้ง

ในประเทศญี่ปุ่น ดอกโบตั๋นชนิด Paeonia lactiflora เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า ebisugusuri (แปลว่า ยาจากต่างแดน) ตามตำรับยาของญี่ปุ่น ถือว่ารากโบตั๋นใช้รักษาอาการชักได้ นอกจากนี้ยังปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ โบตั๋นชนิด Paeonia suffruticosa ในญี่ปุ่น ถือว่าเป็น เจ้าแห่งบุปผา และชนิด Paeonia lactiflora ถือว่า เป็น อัครเสนาบดีแห่งบุปผา"[5]

ภาษาญี่ปุ่นเรียกโบตั๋นว่า โบตัน (牡丹) ก่อนสมัยเมจิ เนื้อจากสัตว์สี่เท้าไม่นิยมบริโภคมากนัก เนื่องจากชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา เมื่อเอ่ยถึงเนื้อสัตว์จึงเลี่ยงมาใช้ชื่อดอกไม้แทน คำว่า โบตัน ถูกใช้เรียกเนื้อหมูป่า มาตั้งแต่ครั้งนั้นจนปัจจุบัน ทั้งนี้ก็เพราะเนื้อหมูป่าเมื่อแล่เป็นชิ้นบางๆ จะคล้ายกับดอกโบตั๋นนั่นเอง ในทำนองเดียวกัน ชาวญี่ปุ่นใช้ดอกซากุระแทนคำเรียกเนื้อม้า

ในรัฐอินเดียนา ของสหรัฐอเมริกา ใช้ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ประจำรัฐมาตั้งแต่ ค.ศ. 1957 โดยใช้แทนดอก zinnia ที่เคยใช้เป็นดอกไม้ประจำรัฐมาตั้งแต่ ค.ศ.1931

โบตั๋นนิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ เพราะมีดอกสวยงามและใหญ่มาก ทั้งยังมีกลิ่นหอมด้วย